ผู้ติดตาม

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตัววัดเซ็นเซอร์ ในงานอุตสาหกรรม



ตัววัดเซ็นเซอร์ ในงานอุตสาหกรรม 

 เซนเซอร์                                 ตัวควบคุม


                              โหลด                                    อุปกรณ์ขับโหลด                                 
                                                                                    

1.การนำSensor ในงานอุตสาหกรรม

Sensor เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้งานอุตสาหกรรมในระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติซึ่งสามารถ แบ่งแยกตามลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติที่ได้ดังนี้


    - Limit Switch การทำงานจะอาศัยแรงกดจากภายนอกมากระทำ เช่น วางของทับที่ปุ่มกด หรือ ลูกเบี้ยวมาชนที่ปุ่มกด     



    - Photoelectric Sensor เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมี หรือ ไม่มีวัตถุที่เราต้องการตรวจจับ โดยอาศัยหลักการวัดปริมาณของความเข้มของแสงที่กระทบกับวัตถุและ สะท้อนกลับมายังเซ็นเซอร์ 



    - Proximity Sensor เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมีหรือไม่มีของวัตถุโดย อาศัยหลักการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กหรือสนามไฟฟ้า แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

          1. ชนิดสนามแม่เหล็ก (Inductive) 

          2. ชนิดสนามไฟฟ้า (Capacitive) 




2.ตัวอย่างการทำงานของเซนเซอร์


บริเวณส่วนหัวของเซนเซอร์จะมีสนามแม่เหล็กซึ่งมีความถี่สูง โดยได้รับสัญญาณมาจากวงจรกาเนิดความถี่ ในกรณีที่มีวัตถุหรือชิ้นงานที่เป็นโลหะเข้ามาอยู่ในบริเวณที่สนามแม่เหล็กสามารถส่งไปถึง จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนา จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทาให้เกิดการหน่วงออสซิลเลท (oscillate) ลดลงไป หรือบางทีอาจถึงจุดที่หยุดการออสซิลเลท และเมื่อนาเอาวัตถุนั้นออกจากบริเวณตรวจจับ วงจรกาเนิดคลื่นความถี่ก็เริ่มต้นการออสซิลเลทใหม่อีกครั้งหนึ่ง สภาวะดังกล่าวในข้างต้นจะถูกแยกแยะได้ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใน หลังจากนั้นก็จะส่งผลไปยังเอาต์พุตว่าให้ทางานหรือไม่ทางาน โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของเอาต์พุตว่าเป็นแบบใด




Sensing Distance (SN) : ระยะที่ตัวเซนเซอร์สามารถตรวจวัตถุได้ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของวัตถุและเส้นผ่านศูนย์กลางของ Sensor ซึ่งโดยปกติแล้ว ถ้าเส้นผ่านศุนย์การของตัว Sensor ใหญ่ก็ยิ่งทาให้ระยะการตรวจจับได้ไกล


Target Material Factor : เป็นค่า Factor โดยประมาณของวัตถุแต่ละชนิด ใช้สาคูณกับค่า Sensing Distance เพื่อให้ได้ค่าระยะการตรวจจับที่แน่นอนยิ่งขึ้น เมื่อใช้ Inductive Sensor ในการตรวจจับวัตถุชนิดนั้นๆ






                                             









Capacitive sensor
เซนเซอร์ประเภทนี้มีโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในคล้ายกับแบบเหนี่ยวนา การเปลี่ยนแปลงของความจุซึ่งเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของวัตถุชนิดหนึ่งเข้ามาใกล้สนามไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์ เซนเซอร์ชนิดนี้สามารถตรวจจับอุปกรณ์ที่ไม่ได้เป็นโลหะได้ นิยมใช้ตรวจชิ้นงานที่มีระยะการจรวจจับไกล และยังสามารถตรวจจับวัตถุได้เกือบทุกประเภท ความเร็วในการตรวจจับสูง มีทั้งรุ่นที่สามารถแยกความแตกต่างสีได้



การทางานของเซนเซอร์แบบเก็บประจุจะมีลักษณะคล้ายกับเซนเซอร์แบบเหนี่ยวนาคือเมื่อวัตถุใดๆ เคลื่อนที่เข้ามาในรัศมีของคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะทาให้ค่าความจุหรือค่า C ของวงจรกาเนิดความถี่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะถูกแยกแยะด้วยวงจรกระตุ้นว่าจะให้อุปกรณ์เอาต์พุตทางานหรือไม่ทางานวิธีการต่อสาย Sensor แบบต่างๆ
เซนเซอร์แบบสองสาย
การต่อสายจะเหมือนการต่อไฟฟ้าผ่าน switch ปกติธรรมดาที่เราใช้ในชีวิตประจาวัน
สายไฟที่มีสองสาย จะมีสีมาตรฐานคือ สีน้าตาล จะเป็นไฟ บวก สีนาเงิน จะเป็นไฟลบ
เซนเซอร์แบบที่มีมากกว่าสองสาย
สีแสดงสัญลักษณ์สายไฟมาตรฐานจะเป็นดังนี้
สาย สีน้าตาล หมายถึง ไฟบวก
สาย สีน้าเงิน หมายถึง ไฟลบ
สาย สีดา หมายถึง สัญญาณ
สีส้ม,ชมพู สาหรับสายสัญญาณอื่นๆ
Sensor แบบ 3 สายเป็นจะเป็น Sensor ที่ใช้หลักการทางานของ Transistor ดังนั้น Sensor ประเภทนี้จึงมี 2 ประเภทคือ
1 PNP
2 NPN

1.เซนเซอร์แบบ PNP
มีชื่อเรียกมากมายหลายแบบ เช่น Sensor แบบ Active High , Sensor แบบ Source ซึ่ง Sensor แบบนี้เมื่ออยู่ในสภาวะทางาน จะทาการต่อสายสัญญาณเข้ากับสายไฟ ดังนั้นเมื่อวัดสายสัญญาณเทียบกับกราวด์ เราจะได้ความต่างศักดิ์เท่ากับไฟที่ให้ sensor
นี่เป็นที่มาของคาว่า Active High คือเมื่อทางานจะวัดไฟที่จุดนี้ได้ เช่นอาจเป็น 24 V.เมื่อเทียบกับ Ground เป็นต้น



2.เซนเซอร์แบบ NPN
มีชื่อเรียกมากมายหลายแบบ เช่น Sensor แบบ Active Low , Sensor แบบ Sink ซึ่ง Sensor แบบนี้เมื่ออยู่ในสภาวะทางาน ก็จะทาการเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้ากับกราวด์
ซึ่งเป็นที่มาของคาว่า Active low คือเมื่อทางานจะวัดไฟที่จุดนี้ได้เท่ากับกราวด์ คือ 0 V.


Photoelectric Sensor


1.Through Beam Sensor
ตัวรับและตัวส่งแสงแยกตัวกัน โดยใช้หลักการตัดต่อลาแสงของ
วัสดุที่ต้องการตรวจจับ เหมาะสาหรับการตรวจจับวัสดุที่มีบริเวณ
หรือพื้นที่ในการวางต่าแหน่งติดตั้งเพียงพอ สามารถตรวจจับได้ใน
ระยะไกลที่สุด ความแม่นยาสูง ข้อเสีย ต้องใช้พื้นที่มากในการติดตั้ง เสียค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟสูง ไม่สามารถตรวจจับวัตถุโปร่งแสงและโปร่งใสได้




2.Retro-Reflextive Sensor
เซนเซอร์ชนิดนี้ตัวรับตัวส่งแสงรวมอยู่ในชุดเดียวกัน โดยใช้หลักการส่งแสงสะท้อนกับแผ่นสะท้อนแสง กลับมาที่ตัวรับ ข้อจากัดสาหรับเซนเซอร์แบบนี้คือ ไม่สามารถตรวจจับวัตถุที่มีผิวมันเงาและโปร่งแสงได้เหมาะกับวัตถุที่มีลักษณะผิวที่ดูดกลืนและไม่สะท้อนแสง หรือผิวขรุขระก็สามารถตรวจจับได้ ข้อดีของเซนเซอร์ชนิดนี้คือ สะดวกในการเดินสายไฟ สามารถวางเซนเซอร์ใว้ได้ในพื้นที่จากัด
















3. Diffuse – Reflextive Sensor
เป็นลักษณะเหมือนกับ Retro-Reflextive Sensor คือตัวรับตัวส่งอยู่ในตัวเดียวกันใช้การสะท้อนกลับเช่นกัน แต่ชนิดนี้จะสะท้อนกับผิดวัตถุ แทนแผ่นสะท้อนได้ มีระยะในการตรวจจับใกล้ที่สุดในทั้ง 3 ชนิด แต่ก็มีข้อดีคือเป็นชนิดที่สะดวกในการติดตั้งใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยที่สุด เซนเซอร์ชนิดนี้สามารถตรวจจับวัตถุได้แทบทุกชนิดยกเว้น วัตถุที่มีลักษณะพื้นผิวที่ด้านหรือดูดกลืนแสงและวัสดุโปร่งแสง















3.สรุปการนำเซนเซอร์(Sensor)ไปใช้ในงานอุตสาหกรรม


1) เซนเซอร์(Sensor) เปรียบเสมือนอวัยวะรับรู้ของระบบ ไม่ว่าจะเป็น การวัดระดับ วัดการไหล วัด
ความดัน วัดอุณหภูมิ วัดตำแหน่ง

2) ตัวควบคุม(Controller) เป็นตัวควบคุมการทำงานของระบบ เช่น เครืองนับจำนวน PLC

3) อุปกรณ์ขับโหลด(Final control element) โหลดทางไฟฟ้าจะทำงานเมือจ่ายกระแสแล้วทำงาน
ตัวอย่างการใช้งานได้แก่รีเลย์ แม็กเนิคคอนแทคเตอร์

4) โหลด(Load) อุปกรณ์ทีนำมาต่อกับระบบ เตารีด หลอดไฟ วาลว์ มอเตอร์
การทำงานของเตารีดเป็นแบบ On-off
Output ของ Controller ส่วนใหญ่ I< 2A จึงต้องใช้ Final control element
รีเรย์ทำงานแบบ On-off
เทอร์มิสเตอร์ วัดอุณหภูมิ เย็น
เทอร์โมคัลเปิล วัดอุณหภูมิ ร้อน
Output ของ เซนเซอร์ มี 2 ลักษณะ คือ

1.Digital Output(On-Off)
Relay Output ใช้ได้ทั􀃊งA C และ DC
DC Output(Transistor Output) ได้แก่ NPN PNP
2.Analog Output(Continuous)
Electrical 4-20 ma,0-20 mA , Voltage 1-5 V,0-10 V
RTD เปลียน จากอุณหภูมิเป็นความต้านทาน
เทอร์โมคัลเปิล เปลียนจากอุณหภูมิเป็นแรงเคลือนไฟฟ้า
ซึง RTDและ เทอร์โมคัลเปิล เป็นทรานสดิวเซอร์ซึงเปลียนจากพลังงานหนึ่งไปยังอีกพลังงานหนึ่ง

แต่ถ้าเป็น ทรานสมิตเตอร์จะให้สัญญาณมาตราฐาน(4-20 mA)
Position sensors ประกอบด้วย
1.Machamic Type เช่น Limit switches Micro switches
2.Electronic Type เช่น Proximity switches Photoelectric switches Encoders


Proximity Switches Type

1. Inductive sensing
เป็นเซนเซอร์ทีอาศัยการเหนียวนำของขดลวด ซึงเกิดขึนกับโลหะเท่านั้น
ประกอบด้วย
1) ขดลวด
2) แกนฟรอไรท์

ระยะการตรวบจับของ Inductive Proximity ขึนอยู่กับวัตถุถูกตรจวจับ ซึงแต่ละวัตถจุ ะมีค่า
แฟกเตอร์ทีแตกต่างกันโดยค่าแฟกเตอร์จะเป็นการกำหนดระยะในการตรวจจับวัตถุโลหะที
ตรวจจับได้ดีทีสุดคือเหล็กอ่อน(เหล็กทีมีคาร์บอนอยู่น้อย) มีค่าแฟกเตอร์ คือ 1.0 และ
Inductive Proximity switches ซึงตรวจจับได้ 20 mm

2. Capacitive sensing
เกิดจากการแปลงเปลียนของความจุ เซนเซอร์ตัวนีตรวจจับวัตถุทีโลหะไม่ได้ และนิยมใช้ตรวจจับอโลหะ
มากกว่าโลหะ

3. Magnetic sensing
3.1.) รีดสวิตซ์ (Reed switch) คือ แม็กเนติกเซนเซอร์ทีมีลักษณะเป็นแบบหน้าสัมผัส ซึงโดยปกติทัวไปแล้ว
จะเป็นหน้าสัมผัสแบบปกติเปิด (Normally Open : NO)สวิตซ์นีจะทำงานโดยอาศัยสนามแม่เหล็ก ซึงอาจจะ
เห็นแม่เหล็กถาวร หรือแม่เหล็กไฟฟ้าก็ได้ แผ่นหน้าสัมผัสจะทำมาจากสารทีมีผลต่อสนามแม่เหล็ก
(ferromagnetic) และติดตั􀃊งอยู่ภายในกระเปาะแก้วเล็กๆที􀃉มีการเติมก๊าซเฉือย เพือทำให้การตัดต่อการส่ง
กระแสไฟฟ้ าได้เร็วยิ่งขึ้น

3.2) อิเล็กทรอนิกส์สวิตซ์ แม็กเนติกเซนเซอร์ประเภทนี่ จะอาศัยการตัดต่อหรือให้สัญญาณโดยอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ที􀃉อยู่ภายใน หากมีคนถามว่าแล้วเซนเซอร์ประเภทนี่แตกต่างจากรีดสวิตซ์อย่างไร คำตอบคือ
เหมือนกันในส่วนที่อาศัยสนามแม่เหล็กในการทำงาน แต่ต่างกันในเรื่องความไวและอายุการใช้งาน แม็ก
เนติกเซนเซอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์การตัดต่อสัญญาณจะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีการเคลื่อนที่ทางกลทำให้มีความไวในการทำงานที่สูงกว่ารีดสวิตซ์ นอกจากนั่นยังส่งผลให้อายุการใช้งานยาวนานกว่าอีกด้วย อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องความแตกต่างของเซนเซอร์ทั่งสองชนิดก็คือ แม็กเนติกเซนเซอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ส่วนมากจะใช้กับไฟกระแสตรงและต้องต่อสัญญาณไฟให้ถูกต้องตามที่กำหนด ส่วนรีดสวิตซ์หากไม่มีหลอดไฟแสดงสัญญาณ( LED) สามารถใช้ได้ทั่งไฟตรงและไฟกระแสสลับ และยังสามารถสลับขั่วการต่อได้

ความเร็วในการตอบสนองของ Proximity sensors
1. เซนเซอร์แบบ DC จะมีผลตอบสนองเร็วกว่า แบบ AC
2. เซนเซอร์แบบ Flush จะมีผลตอบสนองเร็วกว่า แบบ Non-Flush
3. เซนเซอร์ขนาดเล็กจะมีผลตอบสนองเร็วกว่าขนาดใหญ่
4. เซนเซอร์แบบ Quadronorm จะมีผลตอบสนองเร็วกว่า แบบธรรมดา

4. Sonar sensing
งานบางลักษณะไม่สามารถใช้เซนเซอร์ประเภทต่างๆ ด้กล่าวมา ต้นได้เช่น
ถนนสำหรับยานพาหนะบางชนิด เป็นต้น  เสียงนำมาทำเซนเซอร์ประเภทนจะอยู่ในช่วง
ความถี่20KHz - 1GHz ซึjงเรียกว่า Ultrasonic หูของมนุษย์ไม่สามารถจะได้ยินข้อจำกัดของเครื่องมือวัด

ตัวรับแสงและตัวส่งแสงจะอยู่คนละตำแหน่งกัน เพื􀃉อสร้างเงื􀃉อนไขการตรวจจับ โดย
เงื่อนไขมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.แบบมีแสงตกกระทบตัวรับแสงแล้วเกิด Output(Light On)
2.แบบไม่มีแสงตกกระทบตัวรับแสงแล้วเกิด Output(Dark On)


4.  การนำเอาเซนเซอร์อินเทอร์เน็ตมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม


อินเทอร์เน็ตนั้นได้เข้ามามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ซื้อสินค้า ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อของได้เพียงปลายนิ้วคลิก และยังสามารถเลือกรูปแบบตามความต้องการได้ นอกจากเป็นเครื่องมือในการซื้อและแหล่งข้อมูลที่สำคัญ แล้วนั้นยังทำให้ธุรกิจนั้นเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วด้วย สำหรับผู้ผลิตแล้วการที่มี เซนเซอ ร์อย่างเดียวนั้นคงจะไม่สามารถทำงานได้ดีหากปราศจากโซ่อุปทานที่เป็นมืออาชีพและสินค้าที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อที่จะผลิตสินค้าให้เป็นที่พอใจของลูกค้า การที่มีสินค้าเพียงเก็บไว้ในคงคลังนั้นคงไม่พอแล้ว สำหรับตลาดที่มีการแข่งขันสูงในตอนนี้


5. ข้อมูลที่เป็นไฟล์ VDO เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม






วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การติดตั้งปั๊มน้ำและแท้งค์เก็บน้ำ

การติดตั้งปั๊มน้ำและแท้งค์เก็บน้ำ

อุปกรณ์ที่่ใช้ในการติดตั้ง

รายการอุปกรณ์                                         ราคา(บาท)
 1.แท้งค์น้ำ ความจุ 600 ลิตร 1แท้งค์                                                           2900  บาท     
 2.วาล์วเปิด-ปิดน้ำ 3ตัว     ตัวละ                                                                    50  บาท   
 3.ท่อน้ำขนาด2-4นิ้วยาว30เมตร(เผื่อไว้ตามควมต้องการ),ข้อต่อ               400  บาท                            
 4.ปั้มน้ำ                                                                                                        2500  บาท
                                               รวม    59,50 บาท


การตั้งแท้งค์

1. หันแท้งค์ให้สามารถเดินท่อได้สะดวก โดยพิจารณาท่อน้ำเข้าแท้งค์ และท่อออกจากแท้งค์ไปยังปั๊ม ไม่ให้เกะกะ
2. ควรติดตั้งลูกลอยตัดน้ำให้สามารถเก็บน้ำในแท้งค์ได้สูงสุด
3. ควรต่อท่อเข้าแท้งค์ในจุดเตรียมไว้ และใช้ข้อต่อที่ติดตั้งมากับแท้งค์
4. ควรต่อท่อระบายตะกอนที่ก้นแท้งค์ เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด
5. อุปกรณ์ที่ต่อกับแท้งค์น้ำ ควรใช้อุปกรณ์ พีวีซี,ทองเหลือง หรือสแตนเลสเท่านั้น ป้องกันการผุกร่อน เป็นสนิม

วิธีการติดตั้ง
             
               1. ควรตั้งระยะดูดไม่ให้เกิน 9 เมตร  เพื่อให้การสูบน้ำเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ ระยะท่อดูดน้ำจากปั๊มน้ำถึงถังเก็บน้ำที่อยู่บนพื้นดินไม่ควรเกิน 9 เมตร หรือสำหรับถังเก็บน้ำที่อยู่ใต้ดิน ควรให้ปลายท่อดูดน้ำจากก้นถังถึงระดับกึ่งกลางของปั๊มน้ำไม่เกิน 9 เมตรเช่นกัน
              2. ควรติดตั้งปั๊มน้ำใกล้บ่อน้ำ  ควรให้ระยะความลึกของท่อน้ำจากกึ่งกลางปั๊มน้ำถึงระดับใต้ผิวน้ำในบ่อไม่เกิน 9 เมตรเช่นกัน เพื่อความสะดวกต่อการซ่อมแซมและการระบายน้ำ
              3. ควรยึดเครื่องกับแท่นหรือพื้นที่แข็งแรง เช่น คอนกรีต หรือทำกรอบไม้เพื่อยึดขาปั๊มเพื่อเข้ากับพื้นให้  มั่นคงและได้ระดับ ไม่เช่นนั้นจะมีเสียงดังขณะปั๊มทำงาน
              4. การต่อท่อ  การต่อท่อที่ดีจะต้องมีข้อต่อให้น้อยที่สุด เพื่อลดการสูญเสียอัตราการไหลของน้ำเนื่องจากความเสียดทานภายในท่อ  ท่อทางด้านสูบควรมีความลาดเอียงไม่เกิน 2 เซนติเมตรทุกความยาวท่อ 1 เมตร เพื่อให้การสูบน้ำของปั๊มน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด  ต้องระวังอย่าให้เกิดรอยรั่วตามข้อต่อไม่ว่าจะเป็นท่อทางด้านสูบหรือด้านส่ง  เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มน้ำ คือถ้าท่อทางด้านสูบก่อนเข้าปั๊มน้ำมีการรั่ว จะทำให้มีอากาศเกิดขึ้นในท่อ และทำให้ไม่สามารถสูบน้ำให้ไหลต่อเนื่องและเต็มท่อได้ ส่งผลให้น้ำทางด้านส่งหรือด้านที่ต่อออกจากปั๊มน้ำไปถึงก๊อกน้ำมีอัตราการไหลน้อยกว่าปรกติ และหากยังคงมีอากาศเข้าในระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ปั๊มน้ำไหม้ได้  กรณีที่มีการรั่วท่อด้านส่ง   หรือท่อที่ต่อไปก๊อกน้ำ จะมีผลให้ปั๊มน้ำทำงานบ่อยครั้ง  การรั่วเพียงเล็กน้อย เป็นเพียงหยดน้ำเล็ก ๆ ก็มีผลทำให้ความดันในเส้นท่อลดลง และเมื่อลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ สวิตซ์ความดันจะสั่งงานให้ปั๊มน้ำทำงาน  
5. การติดตั้งถังเก็บน้ำ  สำหรับบ้านพักอาศัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น ควรติดตั้งถังเก็บน้ำไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำบนดินหรือใต้ดิน ให้ต่อจากมิเตอร์วัดน้ำของการประปา เพื่อสำรองน้ำจากท่อประปาไว้ในถังเก็บน้ำให้มากพอ แล้วจึงต่อท่อน้ำส่งเข้าตัวปั๊มน้ำ เมื่อเราใช้น้ำตามจุดต่าง ๆ พร้อมกันหลายจุด แรงดันในท่อน้ำจะลดลง ปั๊มน้ำก็จะเริ่มทำงานเกิดแรงดันให้น้ำไหลได้มากขึ้น   แต่ถ้าเป็นอาคารสูงหลาย ๆ ชั้น การติดตั้งจะเหมือนแบบตามบ้านอาศัย แต่จะเพิ่มถังเก็บน้ำอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคาร แล้วปั๊มน้ำจากระดับพื้นดินสู่ถังเก็บน้ำชั้นบน เพื่อสำรองไว้ใช้ตามจุดใช้น้ำตามแต่ละชั้นของอาคาร

การใช้งานปั๊มน้ำ 
 เมื่อติดตั้งปั๊มน้ำและระบบท่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก่อนใช้ปั๊มน้ำควรปฏิบัติดังนี้

       1. ปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ  ปิดอุปกรณ์ใช้น้ำและปิดก๊อกน้ำให้สนิท
       2. ถอดจุกเติมน้ำของตัวปั๊มน้ำ
        3. เติมน้ำให้เต็มจนมีน้ำล้น
        4. ปิดจุกให้แน่น
        5. ต่อระบบไฟฟ้า  ให้ปั๊มทำงาน
        6. เมื่อปั๊มน้ำทำงานแล้ว  ให้เปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ หรืออุปกรณ์ใช้น้ำทีละน้อย  แต่ถ้าปั๊มน้ำทำงานแล้วมีน้ำออกน้อยหรือน้ำไม่ไหล  อาจเป็นเพราะว่าครั้งแรกเติมน้ำน้อยเกินไป ให้เติมน้ำใหม่อีกครั้ง 
       
 ข้อแนะนำในการติดตั้ง

 1. บ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่ไม่ได้เดินท่อ สำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้าน จำเป็นต้องตั้งแท้งค์
ที่หน้าบ้าน ซึ่งควรตั้งฝั่งเดียวกับมิเตอร์น้ำหน้าบ้าน เพราะจะเดินท่อจากมิเตอร์น้ำเข้าแท้งค์
ได้สะดวกไม่เกะกะ
     2. ทาวน์เฮ้าส์ที่เดินท่อสำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้านไว้แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการขนย้าย แท้งค์เข้าติดตั้งได้หรือไม่ ซึ่งต้องยกข้ามกำแพงด้านหลังบ้าน หากไม่สามารถเข้าได้ ต้อง
เลือกใช้แท้งค์ขนาดเล็ก ซึ่งยกเข้าทางประตูบ้าน โดยทั่วไปแท้งค์ขนาด 70 ซม.จะเข้าประตู
ได้ บางบ้านอาจจะใหญ่กว่านี้ขึ้นกับขนาดประตู
     3. กรณีทาวน์เฮ้าส์หลังริม, บ้านแฝด,บ้านเดี่ยว ที่สามารถเดินท่อน้ำจากมิเตอร์ไปยังด้าน
หลังได้ ควรตั้งแท้งค์ไว้หลังบ้านฝั่งเดียวกับมิเตอร์ แท้งค์จะได้ไม่เกะกะหน้าบ้านและไม่ต้อง
เดินท่อไกล
     4. กรณีบ้านที่ท่อน้ำเข้าบ้านอยู่ใต้พื้นคอนกรีตหน้าบ้าน อาจจะตั้งแท้งค์บริเวณหน้าบ้าน
(หากไม่เกะกะเกินไป) จะทำให้ไม่ต้องเดินท่อไกล ถ้าตั้งแท้งค์หลังบ้านต้องเดินท่อไปเข้า
แท้งค์และเดินท่อกลับมาหน้าบ้าน ซึ่งจะสิ้นเปลืองค่าท่อและไม่สวยงาม 

     5. จุดตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำ ระยะห่างไม่เกิน 2 เมตร และปั๊มควรอยู่ในบริเวณที่กัน
แดด กันฝน ถ้าตั้งปั๊มไกลจะทำให้ปั๊มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองท่อ และไม่สวย
งาม
     6. ควรตั้งแท้งค์น้ำห่างจากกำแพงรั้วหรือผนังบ้าน อย่างน้อย 5 เซนติเมตร 
     7. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์ใต้หลังคาที่มีน้ำหยดลงแท้งค์ 
     8. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์บนพื้นที่ลาดเอียง
     9. บริเวณที่ตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ด้านบนเหนือแท้งค์น้ำ เพียงพอต่อการเปิดฝา 
     10. ควรตั้งแท้งค์บนพื้นคอนกรีด